สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
กีฬามวยไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๔ พ.ศ.๒๓๒๕ - ๒๔๑๑ ระยะเวลา ๘๖ ปี
กีฬามวยไทยยังเป็นศิลปะประจำชาติ มีการจัดแข่งขันในงานเทศกาลประจำปี
กติกาเริ่มมีการกำหนดเวลาการแข่งขันเป็นยก
โดยใช้กะลามะพร้าวที่มีรูลอยน้ำถ้ากะลามะพร้าวจมถึงก้นอ่างก็จะตีกลองเป็นสัญญาณหมดยก
การแข่งขันไม่กำหนดยก ชกกันจนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะยอมแพ้
สมัยรัชกาลที่ ๑
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ ๒๓๒๕- ๒๓๕๒)
พระองค์ทรงฝึกหัดมวยไทยมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
และทรงสนพระทัยในการเสด็จทอดพระเนตรการแข่งขันชกมวยไทยอยู่เสมอ ในปี พ.ศ.๒๓๓๑
พ่อค้าชาวฝรั่งเศสสองพี่น้องเดินทางไปค้าขายทั่วโลกด้วยเรือกำบั่น
คนน้องเป็นนักมวยฝีมือดี
เที่ยวพนันชกมวยมาหลายเมืองเดินทางมาถึงกรุงเทพมหานครจึงได้ล่ามกราบเรียนพระยาพระคลัง
ขอชกมวยพนันกับคนไทยพระยาพระคลังได้นำความขึ้นกราบทูลรัชกาลที่ ๑
พระองค์ทรงตรัสปรึกษากับกรมพระราชวังบวรพระอนุชา ซึ่งเป็นผู้มีฝีมือมวยไทย
และคุมกรมมวยหลวงอยู่ในขณะนั้น รับตกลงพนันกันเป็นเงิน ๕๐ ชั่ง
กรมพระราชวังบวรคัดเลือกทนายเลือกวังหน้าฝีมือดีชื่อ
หมื่นผลาญต่อสู้กับนักมวยฝรั่งเศสครั้งนี้
สังเวียนการแข่งขันจัดสร้างขึ้นที่สนามหลังวัดพระแก้ว
โดยใช้เชือกเส้นเดียวผูกกับเสา ๔ ต้น สูงประมาณ ๗๐ เซนติเมตร
ขึงกั้นบริเวณเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างประมาณด้านละ ๒๐ เมตร
ด้านหน้าปลูกพลับพลาที่ประทับ กติกาการแข่งขันไม่มีการให้คะแนน
ชกกันจนกว่าจะแพ้ชนะกันโดยเด็ดขาด เมื่อใกล้เวลาชกทรงตรัสสั่งให้แต่งตัวหมื่นผลาญ
ด้วยการชโลมน้ำมันว่านยาตามร่างกาย ผูกประเจียดเครื่องรางที่ต้นแขน
แล้วให้ขี่คอคนมาส่งถึงสังเวียน
เมือการแข่งขันเริ่มขึ้น ฝรั่งได้เปรียบรูปร่าง
เข้าประชิดตัว พยายามจะปล้ำเพื่อหักคอและไหปลาร้า หมื่นผลาญพยายามปิดป้อง ปัดเปิด
สลับกับเตะถีบชิงต่อยแล้วถอยวนหนียิ่งชกนานฝรั่งยิ่งเสียเปรียบเรพาะทำอะไรไม่ได้
ฝรั่งพี่ชายเห็นว่าถ้าชกต่อไปน้องชายคงเสียเปรียบแน่จึงตัดสินใจกระโดดเข้าไปขวางกั้นไม่ให้หมื่นผลาญถอยหนี
การกระทำเหมือนช่วยกัน จึงเกิดมวยหมู่ระหว่างพวกฝรั่งกับพวกทนายเลือก
ฝรั่งบาดเจ็บหลายคน รัชกาลที่ 1 พระราชทานหมอยาหมอนวดไปรักษาพยาบาล
เมื่อหายดีแล้วฝรั่งเศสสองพี่น้องก็ออกเรือกลับไป
• สมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ.2352 - 2367)
......เมื่อทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงฝึกมวยไทยจากสำนักวัดบางหว้าใหญ่
(วัดระฆังโฆสิตาราม) จากสมเด็จพระวันรัต (ทองอยู่) ซึ่งเคยเป็นแม่ทับเก่า
ครั้นเมื่อพระชนม์อายุ 16 พรรษา
ได้เสด็จมาประทับในพระราชวังเดิมและทรงฝึกมวยไทยจากทนายเลือกเพิ่มเติมอีก อีกทั้งทรงโปรดใหญ่สร้างสนามมวยที่สนามหญ้าบริเวณวังหลัง
และทรงเปลี่ยนคำว่า "รำหมัด รำมวย" มาเป็น "มวยไทย"
• สมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2367 -2394)
.......พระองค์ทรงฝึกมวยไทยจากทนายเลือกในรัชกาลที่ 2 ในสมัยนี้ประชาชนตามหัวเมืองยังคงนิยมฝึกมวยไทยและกระบี่กระบองกันอยู่
ด้วยเหตุผลนี้เองท้าวสุรนารี หรือคุณหญิงโม ภรรยาเจ้าเมืองโคราช
จึงสามารถคุมทับออกต่อสู้เอาชนะกองทัพของเจ้าอนุวงค์แห่งเมืองเวียงจันทร์
รักษาเมืองไว้ได้
• สมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2394 - 2411)
......ในขณะที่ทรงพระเยาว์ ทรงแต่งองค์อย่างกุมารชกมวยไทย
และเล่นกระบี่กระบองโชว์ในงานสมโภชหน้าพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในสมัยนี้เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของอารยธรรมตะวันตกเริ่มแพร่หลายเข้ามาในประเทศไทย
แต่มวยไทยยังคงเป็นกีฬาประจำชาติอยู่
• สมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2411 - 2453)
......พระองค์ทรงฝึกมวยไทยจากสำนักมวยหลวง
ซึ่งมีปรมาจารย์หลวงพลโยธานุโยค ครูมวยหลวงเป็นผู้ถวาย0การสอน
ทำให้พระองค์โปรดกีฬามวยไทยมาก เสด็จทอดพระเนตรการชกมวยหน้าพระที่นั่ง
ทรงโปรดให้ข้าหลวงหัวเมืองต่างๆ
คัดนักมวยฝีมือดีมาชกกันหน้าพระที่นั่งเพื่อหานักมวยที่เก่งที่สุดเข้าเป็นทหารรักษาพระองค์
สังกัดกรมมวยหลวง
.....พระองค์ทรงเห็นคุณค่าของกีฬาประจำชาติ
จึงตรัสให้มีการแข่งขันมวยไทยขึ้นทั่วประเทศ
เพื่อให้เกิดความนิยมกีฬามวยไทยมากขึ้น นอกจากนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มี
"มวยหลวง" ตามหัวเมืองต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ฝึกสอน จัดการแข่งขัน
และควบคุมการแข่งขันมวยไทย เมื่อมีงานพระราชพิธีต่างๆ เช่น งานโสกันต์
งานพระเมรุหรืองานรับแขกเมือง สำนักพระราชวังจะออกหมายเรียกให้มวยหลวงนำคณะนักมวย
คณะปี่กลองมาร่วมแสดงในงานด้วย ดังเช่นในงานศพของ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์
ซึ่งจัดขึ้นที่ท้องทุ่งพระเมรุ (สนามหลวง) ด้านป้อมเผด็จดัสกร
ในงานนี้พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีการจัดแข่งขันมวยไทยหน้าพระที่นั่ง
มีนักมวยฝีมือดีจากต่างจังหวัดหลายคนชกชนะคู่ต่อสู้ได้รับพระราชทาน
"หมื่น" ดังนี้
1.
หมื่นมวยมีชื่อ คือ นายปล่อง จำนงทอง นักมวยฝีมือดีจากเมืองไชยา
ผู้ชกด้วยท่าเสือลากหางเข้าจับทุ่มคู่ต่อสู้จนได้รับชัยชนะหลายครั้ง
2. หมื่นมวยแม่นหมัด คือ นายกลิ้ง ไม่ปรากฏนามสกุล
นักมวยฝีมือดีจากเมืองลพบุรี ผู้มีลีลาการชกฉลาด รุกรับ หลบหลีกว่องไว ใช้หมัดตรงได้อย่างดียอดเยี่ยม
3. หมื่นชงัดเชิงชก คือ นายแดง ไทยประเสริฐ
นักมวยฝีมือดีจากเมืองโคราช ผู้มีการเตะที่รุนแรง และมีหมัดเหวี่ยงอันเลื่องลือ
สมยานามว่า "หมัดเหวี่ยงควาย"
...ปี พ.ศ.2430 รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตั้งกรมศึกษาธิการขึ้น
ให้มวยไทยเป็นวิชาหนึ่งในหลักสูตรของโรงเรียนครูฝึกหัดพลคึกษา
และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
ในสมัยนี้เป็นที่ยอมรับว่า คือ ยุคทองของมวยไทย
• สมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(พ.ศ.2453 - 2468)
...ในระหว่างปี พ.ศ.2457 - 2461 ประเทศไทยได้ส่งทหารเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่
1 ณ เมืองมาเซย์ ประเทศฝรั่งเศส
โดยมีพลโทพระยาเทพหัสดินเป็นแม่ทัพคุมทหารไทยไปร่วมรบในครั้งนี้
ท่านเป็นผู้สนใจมาก ได้จัดมวยไทย ชกมวยไทยโชว์ให้ทหารและประชาชนชาวยุโรปชม
สร้างความชื่นชอบและประทับใจอย่างยิ่ง ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มวยไทยเริ่มเผยแพร่ในยุโรป
....ปี พ.ศ.2464 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ...สนามมวยสวนกุหลาบเป็นสนามมวยถาวรแห่งแรกที่จัดการแข่งขันเป็นประจำ
บนสนามฟุตบอลภายในโรงเรียนสวนกุหลาบ ระยะเริ่มแรก
ผู้ชมจะนั่งและยืนรอบสังเวียนซึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างประมาณด้านละ 26
เมตร ขีดเส้นกั้นบริเวณห้ามผู้ชมล้ำเขตสังเวียน
นักมวยคาดเชือกที่มือด้วยด้ายดิบ สวมมงคล ผูกประเจียดไว้ที่ต้นแขน สวมกางเกงขาสั้น
สวมกระจับบุนวมป้องกันอวัยวะที่สำคัญ และใช้ผ้าคาดทับรอบเอวอย่างแน่นหนาอีกครั้ง
ไม่สวมเสื้อและรองเท้า กรรมการผู้ชี้ขาดแต่งกายด้วยชุดผ้าม่วงนุ่งโจงกระเบน
สวมเสื้อราชประแตนและสวมถุงเท้าขาว
....มวยคู่ผู้ที่สนใจมาก คือ หมื่นมวยแม่นหมัด นกมวยฝีมือดีในสมัยรัชกาลที่ 5
ซึ่งอายุได้ 50 ปี ชกกับนายผ่อง ปราบสบถ
นักมวยหนุ่มฝีมือดี รูปร่างสูงใหญ่ อายุ 22 ปี จากโคราช
การชกครั้งนี้เพื่อแก้แค้นแทนบิดาที่แพ้หมื่นมวยแม่นหมัด
เมื่อครั้งชกกันหน้าพระที่นั่งงานพระเมรุขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ การแข่งขันใช้เวลา 2
นาที หมื่นมวยแม่นหมัดถูกหมัดเหวี่ยงควายของนายผ่อง
ล้มนอนหมดสติกับพื้นสนาม ผู้ชมต่างตื่นเต้นกับชัยนะของนายผ่อง
วิ่งเข้าห้อมล้อมเพื่อแสดงความยินดี ทำให้เกิดความวุ่นวาย
เจ้าที่และลูกเสือต้องทำงานหนัก จากเหตุการณ์ครั้งนี้คณะกรรมการจัดมวยจึงจัดประชุมเพื่อหาทางแก้ไข
ในที่สุดตกลงสร้างเวทีมวยขึ้นใหม่ในวันรุ่งขึ้น โดยยกพื้นเวทีสูง 4 ฟุต ปูพื้นด้วยเสื่อจันทบูรณ์หลายผืนเย็บติดกัน มีเชือกกั้นเวทีขนาด 1
นิ้ว มีช่องตรงมุมบันไดสำนักมวยและผู้ตัดสินขึ้นลง
ผู้ตัดสินแต่งเครื่องแบบเสือป่าเต็มยศ มีเจ้าหน้าที่รักษาเวลาโดยใช้นาฬิกาจับเวลา 2
เรือน ใช้เสียงกลองเป็นสัญญาณการชกแข่งขันกัน 11 ยกๆ ละ 3 นาที ต้องแยกจากกันเมื่อผู้ตัดสินสั่งแยก
ห้ามกัด ห้ามซ้ำ ใช้ลูกติดพันได้ ถ้าคู่ต่อสู้ล้มให้ไปยืนรอที่มุมกลาง
มีวงมโหรีปี่กลองของหมื่นสมัคร เสียงประจิตร บรรเลงให้จังหวะขณะแข่งขัน
....ประชาชนสนใจเข้าชมการแข่งขันกันมากและเรียกร้องให้จัดต่อไปอีก รัชกาลที่ 6
จึงทรงโปรดเกล้าให้พระยานนทิเสนสุเรนทรภักดี แม่กองเสือป่า
จัดแข่งขันชกมวยเพื่อหาทุนซื้อปืนให้กองเสือป่า
โดยให้สมุเทศาภิบาลและข้าหลวงหัวเมืองต่างๆ จัดนักมวยฝีมือดีมาชกกัน
นักมวยส่วนใหญ่จากต่างจังหวัดจะพักที่ห้องสโมสรเสือป่า
บริเวณสวนดุสิตเมื่อนักมวยเปรียบคู่ได้แล้ว นักข่าวจะถ่ายภาพทำโฆษณา
ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการโฆษณา การแข่งขันมวยไทย
...มวยคู่ประวัติศาสตร์ที่สามารถทำเงินได้มากที่สุดในยุคนั้น คือ นายยัง หาญทะเล
กับ จี๊ฉ่าง (โฮ้ว จงกุ๋น) นักมวยจีน
ผลการแข่งขันจี๊ฉ่างถูกชกที่ใบหน้าแล้วเตะตามที่ก้านคอล้มลงนอนนิ่ง ผู้ตัดสินนับ 10
ก็ไม่สามารถลุกข้ามาต่อสู้ได้
• สมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
(พ.ศ.2468 - 2477)
....ระหว่างปี พ.ศ.2466 - 2472 พลโทพระยาเทพหัสดินได้สร้าง
สนามมวยหลักเมืองท่าช้าง ขึ้น บริเวณโรงละครแห่งชาติปัจจุบัน
เวทีมีเชือกกั้นเส้นใหญ่ขึ้น
เชือกแต่ละเส้นขึงตึงเป็นเส้นเดียวไม่เปิดช่องตรงมุมสำหรับขึ้นลงเหมือนกับยุคเก่า
เพื่อป้องกันนักมวยตกเวทีตรงช่องนี้และจัดการแข่งขันเป็นประจำทุกปี
....ปี พ.ศ.2472 รัฐบาลมีคำสั่งให้การแข่งขันชกมวยไทยทั่วประเทศสวมนวมชกได้
ตังอย่างการสวมนวมจากนักมวยฟิลิปปินส์ที่เข้ามาชกมวยสากลในประเทศไทย
ทั้งนี้สาเหตุเนื่องจาก นายแพ เลี้ยงประเสริฐ นักมวยฝีมือดีจากบ้านท่าเสา
จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ต่อย นายเจีย แขกเขมร ตายด้วยหมัดคาดเชือก
...ในวันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2472 เจ้าคุณคธาธรบดี
ได้เริ่มจัดการแข่งขันชกมวยไทยขึ้นที่สวนสนุกภายในบริเวณสวนลุมพินีร่วมกับมหรศพอื่นๆ
โดยคัดเอานักมวยฝีมือดีชกกันทุกวันเสาร์เนื่องจากเจ้าคุณเป็นคนทันสมัยจึงเวทีมวยแบบมาตรฐานสากล
คือ มีเชือก 3 เส้น ใช้ผ้าใบปูพื้น มีมุมแดง น้ำเงิน
มีผู้ตัดสินให้คะแนน 2 คน มีผู้ชี้ขาดการแข่งขันบนเวที 1
คน ให้สัญญาณด้วยระฆังเป็นครั้งแรก และในวันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2472 ในรายการต้อนรับวันปีใหม่
คู่เอกระหว่างสมาน ดิลกวิลาศ กับ เดช ภู่ภิญโญ มวยประกอบรายการได้แก่ นายแอ ม่วงดี
กับสุวรรณ นิวาสะวัตร ซึ่งนายแอ ม่วงดี
ได้นำเอากระจับเหล็กมาใช้ป้องกันอวัยวะสำคัญทำให้นักมวยคนอื่นๆ
หันมาใช้กระจับเหล็กตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
• สมัยรัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดล
(พ.ศ.2477 - 2489)
....ระหว่างปี พ.ศ.2478 - 2484 คหบดีผู้มีชื่อเสียงในสมัยนั้นได้สร้างเวทีมวยขึ้นบริเวณที่ดินของเจ้าเชต
ชื่อ สนามมวยสวนเจ้าเชต ปัจจุบันคือที่ตั้งกรมรักษาดินแดน
การดำเนินการจัดการแข่งขันเป็นไปด้วยดี เนื่องจากทหารเข้ามาควบคุม
เพื่อนำรายไปบำรุงกิจการทหาร จัดการแข่งขันกันติดต่อหลายปี จึงเลิกไปเพราะเกิดสงครามโลกครั้ง
ที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นบุกเข้าประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2484
...ระหว่างปี พ.ศ.2485 -2487 สงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังจะสงบแต่ยังคงมีเครื่องบินข้าศึกบินลาดตระเวนอยู่ทั้งกลางวันกลางคืน
จำเป็นต้องจัดการแข่งขันชกมวยไทยตามโรงภาพยนต์ต่างๆ ในเวลากลางวัน เช่น
สนามมวยพัฒนาการ สนามมวยท่าพระจันทร์ สนามมวยวงเวียนใหญ่
เนื่องจากประชนยังคงให้ความสนใจมวยไทยอยู่
....วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2488 สนามมวยเวทีราชดำเนินได้เปิดสนามทำการแข่งขันครั้งแรก
มีนายปราโมทย์ พึ่งสุนทร เป็นนายสนามมวยคนแรก พระยาจินดารักษ์เป็นกรรมการบริหารเวที
ครูชิต อัมพลสิน เป็นโปรโมเตอร์ จัดชกเป็นประจำในวันอาทิตย์เวลา 16.00 -
17.00 น. ใช้กติกาของกรมพลศึกษา ปี พ.ศ.2480 ชก
5 ยกๆละ 3 นาที พักระหว่างยก 2 นาที ในระยะแรกชั่ง
น้ำหนักตัวนักมวยด้วยมาตราส่วนเป็นสโตนเหมือนน้ำหนักม้า อีก 2 ปีต่อมา จึงเปลี่ยนเป็นกิโลกรัม ปี พ.ศ.2491 เปลี่ยนน้ำหนักนักมวยเป็นปอนด์
เพื่อให้เป็นระบบสากลมากขึ้น และเรียกชื่อรุ่นตามน้ำหนัก เช่น น้ำหนักไม่เกิน 112
ปอนด์ รุ่นปลายเวท น้ำหนักไม่เกิน 118 ปอนด์
รุ่นแบนตัมเวท เป็นต้น และปี พ.ศ.2494 สนามมวยเวทีราชดำเนินได้เริ่มก่อสร้างหลังคาอย่างถาวร
....วันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2496 พันตำรวจเอกพิชัย
กุลวณิชย์
ผู้ช่วยมวยนายสานมวยเวทีราชดำเนินได้ออกระเบียบให้นักมวยสวมกางเกงให้ตรงมุมตนเอง
พี่เลี้ยงต้องแต่งกายสุภาพ
...วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2496 สนามมวยเวทีลุมพินี
ได้เปิดการแข่งขันมวยไทยขึ้นเป็นครั้งแรก มี เสธ เอิบ แสงฤทธิ์ เป็นนายสนาม นายเขต
ศรียาภัย เป็นผู้จัดการ
...ปี พ.ศ.2498 บริษัทเวทีราชดำเนิน จำกัด
ได้จัดทำกติกามวยไทยอาชีพฉบับแรกขึ้น โดยได้ปรับปรุงจากกติกามวยไทย ฉบับปี พ.ศ.2480
ของกรมพลศึกษา
...ปี พ.ศ.2502 นายโนกุจิ
นักธุรกิจชาวญี่ปุ่นนำนักมวยชาวญี่ปุ่นมาชกกับนักมวยไทยได้ถ่ายภาพยนต์มวยไทยไว้แล้วนำไปศึกษา
เปลี่ยนชื่อเป็นคึกบอกซิ่ง นายไคโต เคนกุจิ
ผู้นำด้านศิลปะการต่อสู้ชาวญี่ปุ่นได้เข้าชมมวย ณ เวทีราชดำเนิน เกิดความประทับใจ
นำวิชามวยไทยไปฝึกสอนกันอย่างจริงจัง ในโรงเรียนประถมศึกษาของญี่ปุ่น
...ปี พ.ศ.2503 บริษัทเวทีราชดำเนิน จำกัด
ได้เพิ่มข้อบังคับกติกามวยไทยอาชีพอีกว่า
นักมวยไทยต้องมีอายุในวันแข่งขันไม่ต่ำกว่า 18 ปี
และอายุไม่เกิน 38 ปีบริบูรณ
...ปี พ.ศ.2504 เวทีราชดำเนินได้จัดการแข่งขันมวยชิงถ้วยพระราชทานขึ้นเป็นครั้งแรก
มีนักมวยซึ่งได้รับถ้วยพระราชทน ตามลำดับดังนี้
วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2504 คนที่ 1
นำศักดิ์ ยนตรกิจ
วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2506 คนที่ 2 เดชฤทธิ์ อิทธิอนุชิต
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2508 คนที่ 3 สมพงษ์ เจริญเมือง
วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2512 คนที่ 4 เฉลิมศักดิ์ เพลินจิต
วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 คนที่ 5 ศรนักรบ เกียรติวายุภักษ์
วันที่ 17 มกราคม พ.ศ.2522 คนที่ 6 เผด็จศึก พิษณุราชันย์
วันที่ 29 พ.ศ.2507 นายเฉลิม
เชี่ยวสกุล ประธานบริษัทเวทีราชดำเนิน จำกัด ประกาศใช้ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการชิงแชมป์เปี้ยน
การป้องกันแชมป์เปี้ยน และการจัดอันดับนักมวยไทยของเวทีราชดำเนินเป็นครั้งแรก
...ปี พ.ศ.2508 บริษัทเวทีราชดำเนิน จำกัด
ได้ปรับปรุงกติกามวยไทยอาชีพให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ให้ชื่อว่า "
กติกามวยไทยอาชีพของเวทีราชดำเนิน พ.ศ.2508 "
...ธันวาคม พ.ศ.2527 เวทีมวยราชดำเนินจัดอันดับ 10
ยอดมวยไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ดังนี้
คนที่ 1 ผล พระประแดง
คนที่ 2 สุข ประสาทหินพิมาย
คนที่ 3 ชูชัย พระขรรค์ชัย
คนที่ 4 ประยุทธ์ อุดมศักดิ์
คนที่ 5 อดุลย์ ศรีโสธร
คนที่ 6 อภิเดช ศิษย์หิรัญ
คนที่ 7 วิชาญน้อย พรทวี
คนที่ 8 พุฒ ล้อเหล็ก
คนที่ 9 ผุดผาดน้อย วรวุฒิ
คนที่ 10 ดีเซลน้อย ช.ธนสุกาญจน์