ความหมายของคำว่า “มวยไทย”
อาจมีที่มาจาก คำว่า รำหมัดรำมวย
ซึ่งเป็นชื่อเรียก การฝึกสมาธิเคลื่อนไหวเพื่อสร้างสุขภาพ ของ ชนเผ่าไท
โดยมีลักษณะเด่นที่ การเคลื่อนไหวซึ่งมี การหมุนม้วนข้อมือและหมัด(พันหมัดพันมือ)
และ การเคลื่อนที่ ที่มีจังหวะและการหมุนวนไปมา ซึ่งเป็นคำปรากฏ เรียกกันมาแต่โบราณ
ตั้งแต่ก่อนตั้งอาณาจักรสุโขทัย และต่อมาในยุคต้นกรุงศรีอยุธยา(ราวปี พ.ศ. 1900) ปรากฏคำว่า
ปล้ำมวย (การประลอง หรือซ้อมมวยเพื่อทดสอบฝีมือ เช่นเดียวกับ การปล้ำไก่) ตีมวย
(การแข่งขันชกมวยเพื่อการพนันเอาแพ้ชนะ เช่นเดียวกับ คำว่า ตีไก่)
หรืออาจมาจากลักษณะการประกอบการม้วนเชือกหรือผ้า เพื่อใช้หุ้มฝ่ามือและท่อนแขน
เพื่อใช้ป้องกันอันตรายขณะต่อสู้ หรืออาจเพิ่มอันตรายในการ ชก กระแทกฟาดโดยการผสม
กับ กาวแป้ง และ ผงทราย คล้ายลักษณะของ มวยผม ของ ผู้หญิงที่นิยมไว้ผมยาว
(เกล้ามวย) ได้แก่ หญิงไทย/ลาวโซ่ง/หญิงล้านนาในสมัยโบราณ หรือนักมวยจีน (มุ่นผม)
ซึ่งนิยมถักเป็นเปีย แล้วม้วนพันรอบคอของตนซึ่งสามารถใช้ในการต่อสู้ในบางครั้ง
หรือ มาจากคำภาษาบาลี ว่า "มัลละ" หมายถึง การปล้ำรัด
มวยปล้ำของชาวอินเดีย
มีการต่อสู้ในลักษณะเดียวกับ มวย ของ ชาวไทย
มุสลิมในท้องถิ่นทาง ภาคใต้ ตลอดจนแหลม มลายู เรียกว่า ซีละ หรือ ปัญจสีลัต มีผู้บัญญัติศัพท์ว่า
"มวยไทยพาหุยุทธ์" โดยเปรียบว่า เป็นการต่อสู้แบบรวมเอา ศิลปะการต่อสู้ (Martial Art) ทุกแขนง
โดยใช้อวัยวะทุกส่วนร่วมด้วยได้แก่ การใช้ ศีรษะ คาง เพื่อชน กระแทก โขก ยี
ใช้ท่อนแขน ฝ่ามือ และกำปั้น จับ ล็อก บล็อก บัง เหวี่ยง ฟัด ฟาด ปิด ปัด ป้อง ฟาด
ผลัก ยัน ดัน ทุบ ชก ไล่แขน ศอก เฉือน ถอง กระทุ้ง พุ่ง เสย งัด
ทั้งทำลายจังหวะเมื่อเสียเปรียบและหาโอกาสเข้ากระทำเมื่อได้เปรียบ